ประวัติหมู่บ้านตางาม และวัดตางาม
ประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๘
สมัยนั้นผู้คนที่จะเดินทางผ่านไปมาระหว่างหนองแฟบ , คลองแอ่ง หรือบ่อไร่
จะต้องผ่านเส้นทางนี้ตลอด ช่วงเวลานั้น ( พ.ศ. ๒๔๙๘ ) เขตนี้ยังมีป่าไม้หอมอยู่มาก
และผู้คนที่เดินทางมาทำไม้หอม ไม่สามารถกลับบ้านได้ ( การสัญจรในสมัยนั้นคือการเดินทางด้วยเท้า
) จะผ่านที่นาของลุงเจ้าของนา
ซึ่งข้าวในที่นาของลุง เกิดได้เสมอเต็มพื้นที่นา และงดงาม
ส่วนลุงเจ้าของที่นา
ดวงตาของท่านนั้นงดงามมาก ผู้คนที่ผ่านไปมาในระหว่างทางที่ได้กล่าวมาแล้ว
ก็จะเอ่ยถึงและเล่าขานกันต่อๆมาว่า ไปพักที่บ้าน “ ตางาม” มา
เป็นเรื่องเล่าของชื่อหมู่บ้านที่ถูกเล่าสืบทอดมา
ข้อมูลจาก คุณลุงเล็ก ลิ้มหลี่ อายุ ๗๘ ปี
ส่วนวัดตางามนั้น อดีตเมื่อประมาณปี
พ.ศ.๒๔๙๘ นายบุญ บุตรงาม เล่าให้ผู้จดบันทึกฟังว่า ตนเองได้สมรสกับ นางคง บุตรงาม
( สกุลเดิม บุตรเอี้ย ) แล้วได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในบ้านตางาม
ส่วนที่ดินในสมัยนั้นได้มาโดยการจับจองและครอบครองกันเอง
ในขณะนั้น ปี พ.ศ. ๒๔๙๘
เขตนี้มีบ้านเรือนประชาชนอยู่เพียง ๑๐ หลัง ได้แก่
๑.
นายบุญ หมู่งาม อายุ ๘๔ ปี ( ผู้ให้ข้อมูล )
๒.
ตามิ่ง ขุนแก้ว เสียชีวิต
๓.
นายโฮน เสียชีวิต
๔.
อดีตผู้ใหญ่เล็ก ลิ้มหลี อายุ ๗๘ ปี ( ผู้ให้ข้อมูล )
๕.
นายสม ไม่ทราบนามสกุล เสียชีวิต
๖.
นายก่ำ ไม่ทราบนามสกุล เสียชีวิต
๗.
นายพร้อม ไม่ทราบนามสกุล เสียชีวิต
๘.
ท่านยศ มรณภาพ
๙.นายบรรจบ
อุยะตุง อายุ ๖๘
ปี ( ผู้ให้ข้อมูล )
๑๐.นายเภา
ทำปราบ ยังมีชีวิตอยู่
กาลต่อมานายยุ้น บุตรกลิ่น เป็นคนริเริ่มให้สร้างวัด
โดยยกที่ดินให้ ประมาณ ๑๐ ไร่ ( ที่อยู่ปัจจุบัน ) เป็นวัดตางาม ซึ่งผู้ร่วมก่อสร้างและเป็นเจ้าอาวาส
และตามลำดับคือ
องค์ที่ ๑. พระอาจารย์เบี้ย คเวสโก
ประมาณปี
พ.ศ. ๒๕๓๐ มีพระภิกษุจำพรรษาประมาณ ๕ รูปต่อปี
(
พื้นเพชาวบ้านตางาม )
องค์ที่ ๒. พระอาจารย์ประเทือง ภทฺทโก (
พื้นเพชาวบ้านช้างทูน )
องค์ที่
๓. พระอาจารย์ดำ พระน้องชายพระอาจารย์จำนง อนีโฆ ขุนแก้ว มารั้งตำแหน่งเจ้าอาวาสเพียง
๑ ปี ( พื้นเพชาวบ้านบ่อไร่ )
องค์ที่
๔. พระอาจารย์ศุภมิตร สนนฺโท (
พื้นเพชาวภาคเหนือ ) ท่านและชาวบ้านได้ร่วมสร้าง
-
ศาลาบำเพ็ญกุศล
-
เมรุ
-
ห้องน้ำหลังศาลาบำเพ็ญกุศล
-
กุฏิชั้นเดียวใต้ถุนสูง
หลังศาลาบำเพ็ญกุศล ( ซึ่งสมัยต่อมาได้ต่อเติมชั้นล่าง )
( องค์ที่ ๑ , ๒ , ๔ คาบเกี่ยวระหว่างปี พ.ศ.
๒๕๓๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๘ ข้อมูลสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด ส่วนองค์ที่ ๓
เป็นข้อมูลจากชาวบ้านตางาม )
องค์ที่
๕. พระน้อย ประมาณปี ๒๕๓๘
ถึง พ.ศ. ๒๕๔๓
องค์ที่
๖. พระสมุห์ไพโรจน์ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๓ –
๒๕๕๖ พื้นเพชาวจังหวัด
นครราชสีมา
องค์ที่ ๗. พระอดุลย์
อโนมปญฺโญ รักษาการเจ้าอาวาส วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น